เมนู

จริงอยู่ ก็อุปาทานทั้ง 4 นี้ เป็นปัจจัยแก่รูปภพ อรูปภพ และ
อุปปัตติภพที่เป็นกุศลกรรมในกรรมภพอันนับเนื่องด้วยกามภพ ด้วยอุปนิสสย-
ปัจจัยอย่างเดียว. อุปาทาน 4 นั้นเป็นปัจจัยแก่อกุศลกรรมภพที่สัมปยุตด้วย
ตนในกามภพโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย และเหตุปัจจัย แต่เป็น
ปัจจัยแก่ภพที่เป็นวิปปยุตกัน ด้วยอุปนิสสยปัจจัยเดียวเท่านั้นแล.
นิเทศแห่งภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จบ

ว่าด้วยนิเทศแห่งชาติ

(บาลีข้อ 226)
พึงทราบวินิจฉัยปัจจยาการมีชาติเป็นต้น ในนิเทศแห่งชาติเกิดเพราะ
ภพเป็นปัจจัยเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวไว้ในสัจจวิภังค์นั่นแหละ. แต่คำว่าภพ
ในที่นี้ ทรงประสงค์เอากรรมภพเท่านั้น เพราะกรรมภพนั้น เป็นปัจจัยแก่ชาติ
อุปปัตติภพหาเป็นปัจจัยแก่ชาติไม่ ก็แลกรรมภพนั้น เป็นปัจจัย 2 อย่าง
เท่านั้น ด้วยอำนาจกรรมปัจจัย และอุปนิสสยปัจจัย.
หากมี ผู้ถามว่า ข้อนี้ จะพึงรู้ได้อย่างไรว่า ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.
ตอบว่า รู้ได้ เพราะแสดงความต่างกันแห่งภาวะมีความเลวและ
ประณีตเป็นต้น ในเหตุแม้สักว่าเป็นปัจจัยภายนอก.
จริงอยู่ เมื่อปัจจัยภายนอกมีบิดามารดา น้ำสุกกะ ประจำเดือน
และอาหารเป็นต้น ของสัตว์ผู้แม้ฝาแฝดแม้ในอัตภาพที่เหมือนกันมีอยู่ ก็ยัง
ปรากฏต่างกันด้วยภาวะมีความเลวและประณีตเป็นต้น ก็ความต่างกันโดยเป็น

หีนะและประณีต มิใช่ไม่มีเหตุ เพราะสภาวะทั้งปวงไม่มีอยู่ในกาลทั้งปวง
แก่พวกสัตว์ทั้งหมด และทั้งมิใช่เหตุอันนอกจากกรรมภพ เพราะไม่มีเหตุอื่น
ในสันดานอันมีในภายในของเหล่าสัตว์ผู้เกิดแต่กรรมภพนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงมีกรรมภพเป็นเหตุโดยแท้ แท้จริง กรรมก็เป็นเหตุที่แปลกกันใน
ความเลวและประณีตเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า กมฺมํ สตฺเต วิภชติ ยทิทํ หีนปณีตตาย กรรมย่อมจำแนก
สัตว์ทั้งหลาย ให้เลวและประณีต ดังนี้ เพราะฉะนั้น ข้อนี้พึงทราบได้ว่า
ภพเป็นปัจจัยแก่ชาติ.
อนึ่ง เมื่อชาติไม่มี ขึ้นชื่อว่า ชรามรณะก็หามีไม่ และธรรมมีความโศก
เป็นต้นก็หามีไม่ แต่เมื่อชาติมี ชรามรณะและธรรมมีความโศกเป็นต้น อัน
เกี่ยวเนื่องด้วยชรามรณะ ของคนพาลผู้ถูกทุกขธรรม คือ ชรามรณะถูกต้องแล้ว
หรือไม่เนื่องด้วยชรามรณะ. ของคนพาลผู้อันทุกขธรรมนั้น ๆ ถูกต้องแล้ว
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชาตินี้ เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะ และ
แก่ธรรมที่ความโศกเป็นต้นแล. ก็ชาตินั้นเป็นปัจจัยอย่างเดียวเท่านั้น โดย
เงื่อนแห่งอุปนิสสยปัจจัย ดังนี้แล.
นิเทศแห่งชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัยเป็นต้น จบ

อธิบายภวจักร 12

(บาลีข้อ 273)
พึงทราบอรรถแห่งบทมีอาทิว่า เอวเมตสฺส (ความเกิดขึ้น. . .นี้
ย่อมมีด้วยประการฉะนี้นั้น) โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุทเทสวาร. บทว่า สงฺคติ
(ความไปร่วม) เป็นต้น* เป็นคำไวพจน์ของ บทว่า สมุทโย (ความเกิด
ขึ้น) ทั้งหมด.
* สงฺคติ สมาคโม สโมธานํ ปาตุภาโว แปลว่า ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุม
ควานปรากฏ.